E-Learning วิชา การเขียนโปรแกรม – ม.4 | ครูวิเนต วงษ์แหวน

8. การใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์

ตัวดำเนินการ (Operator)

นอกจาก เครื่องหมาย = ที่เราใช้ในการนำข้อมูลเข้าไปใส่ในตัวแปรแล้ว ในภาษาไพทอน ยังมี ตัวดำเนินการ (Operator) ซึ่งเป็น เครื่องหมาย ใช้ในการดำเนินการกับตัวแปรหรือค่าต่างๆ ได้แก่

ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operators)

ยกตัวอย่างในกรณีที่ มีตัวแปร x = 7 และ y = 3

เครื่องหมายคำอธิบายตัวอย่างการใช้งานผลลัพธ์
+การบวกx+y10
การลบx-y4
*การคุณx*y21
/การหารx/y2.3333
**การยกกำลังx**y343
//การหารแบบปัดเศษทิ้งx//y2
%การหาค่าเศษของการหารx%y1

ในกรณี 7 หารด้วย 3 จะได้คำตอบเป็น 2 เศษ 1

ตัวดำเนินการ // จะได้ผลลัพธ์เป็นค่าที่ปัดเศษทิ้ง ได้แก่ 2

ตัวดำเนินการ % จะได้ผลลัพธ์เป็นค่าเศษ ได้แก่ 1

การทดลองประจำบทเรียนที่ 8

1.ทดลอง นำ Source Code ที่กำหนดให้ ไปรันใน Compiler และสังเกตผลลัพธ์

2. ทดลองเปลี่ยนค่าในตัวแปรและสังเกตผลลัพธ์

x = 7
y = 3

print(x+y)
print(x-y)
print(x*y)
print(x/y)
print(x**y)
print(x//y)
print(x%y)

– – – จบบทเรียนที่ 8 – – –


แบบฝึกหัดที่ประจำบทเรียน 8