E-Learning วิชา การเขียนโปรแกรม – ม.4 | ครูวิเนต วงษ์แหวน

7. การใช้คำสั่ง print() กับตัวแปร

นอกจากการพิมพ์ข้อความธรรมดาแล้ว คำสั่ง print() สามารถใช้เพื่อพิมพ์ค่าที่อยู่ในตัวแปรออกมาในหน้าจอแสดงผลได้

วิธีการใช้คำสั่ง print() กับตัวแปร

ใส่ตัวแปรที่ต้องการแสดงผล ในช่อง () ของคำสั่ง print() โดยที่ตัวแปรต้องถูกสร้างและมีข้อมูลเก็บอยู่ในตัวแปรแล้ว

1 school = "Chaiwit" #สร้างตัวแปรชื่อ school และเก็บค่าเป็นข้อมูลประเภท String มีค่าเป็น Chaiwit
2 print(school) #สั่งพิมพ์ค่าที่อยู่ในตัวแปรออกสู่หน้าจอ

ผลลัพท์ที่ได้
Chaiwit

วิธีการใช้คำสั่ง print() ตัวแปรผสมกับข้อความธรรมดา

การสั่งพิมพ์ข้อความธรรมดา ปะปนกับตัวแปร ในคำสั่ง print() นั้น ต้อง ใช้เครื่องหมาย , หรือที่เรียกว่า comma (อ่านว่า คอมม่า) ในการแบ่งส่วนที่เป็นตัวแปรออกจากส่วนที่เป็นข้อความธรรมดา

name = "Winate" #สร้างตัวแปรชื่อ name และเก็บค่าเป็นข้อมูลประเภท String มีค่าเป็น Winate
age = 18 #สร้างตัวแปรชื่อ age และเก็บค่าเป็นข้อมูลประเภท Integer มีค่าเป็น 18
print("My name is",name,". I am ",age, "year old.") 

*ส่วนที่เป็นข้อความธรรมดา จะถูกกำกับด้วยเครื่องหมาย ” “ อยู่แล้ว

**ส่วนที่เป็นตัวแปรกับกับด้วยเครื่องหมาย ,

ผลลัพท์ที่ได้
My name is Winate. I am 18 year old.

การทดลองประจำบทเรียนที่ 7

name = "Winate"
school = "Chaibadan Wittaya"

*ให้นักเรียนใช้ตัวแปรที่กำหนดค่าไว้แล้วใน source code ต่อไปนี้ ในการทดลอง

จงใช้คำสั่ง print() เพื่อพิมพ์ ตัวแปรที่กำหนด ควบคู่กับข้อความธรรมดา ให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นคำว่า

Teacher Winate is most handsome teacher in Chaibadan Wittaya School

– – – จบบทเรียนที่ 7 – – –


แบบฝึกหัดที่ประจำบทเรียน 7