==> ทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน   
 
==> ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
    1.  แนะนำโปรแกรม VB 6
    2.  ส่วนประกอบของโปรแกรม
    3.  การจัดการกับโปรเจ็กต์
    4.  การออกแบบหน้าจอ
    5.  ตัวแปรและค่าคงที่
    6.  การเขียนโปรแกรม
    7.  ฟังก์ชัน
    8.  การสร้างเมนู
    9.  นำเสนอโครงงาน
 
 
    •   แผนการสอน+ใบความรู้
    •   แบบทดสอบ (pdf) 
    •   โปรแกรม VB 6 (portable
    •   ตัวอย่างโปรแกรม
 
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    - www.sourcecode.in.th

   ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual Basic 6

vb_001.jpg

ส่วนประกอบ

รายละเอียด

Form

เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจอภาพของโปรแกรมขึ้นใช้งาน โดยจะทำหน้าที่เป็น Background ขอจอภาพ

Toolbox

เป็นส่วนที่ประกอบด้วย Icon ต่าง ๆ หรือ ที่เรียกว่า  Control ที่จะนำไปใช้งานโดยการนำไปวางบน Form

Toolbar

เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรม หรือเป็นเครื่องมือที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ

Project Explorer Window

เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเรียก Form ต่าง ๆ ขึ้นมาแก้ไข ในกรณีที่มี Form มากกว่า 1 Form

Properties Window

เป็นจอภาพที่ใช้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Project ที่เราได้ออกแบบไว้เพื่อให้ทำงานตามความต้องการ

Form Layout Window

ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของ Form ที่จะให้แสดงอยู่ในจอภาพเมื่อทำการ Run

   ทูลบาร์ (Toolbar) เป็นแถบสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับเข้าถึงชุดคำสั่งของ Visual Basic ได้ทันที โดยจะนำคำสั่งที่ถูกใช้งานบ่อย ๆ มาแสดง

vb_003.jpg

ทูลบาร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. Standard Toolbars เป็นทูลบาร์มาตรฐานประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการ Project
2. Edit Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับช่วยในการเขียนโค้ดใน code editor
3. Debug Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบการทำงานการประมวลผลโปรแกรม
4. Form Editor Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับช่วยในการปรับขนาด, ย้าย, เปลี่ยนตำแหน่งคอนโทรลต่าง ๆ ที่อยู่บนฟอร์ม

ไอคอน

ชื่อ

รายละเอียดการใช้งาน

add_exe

Add Standard EXE Project

ใช้สำหรับเปิด Project ใหม่ เพื่อออกแบบ Program ตามที่ต้องการ

add_frm

Add Form

ใช้ในการเพิ่ม Form เข้าไปไว้ใน Project ที่มีการใช้งานมากกว่าหนึ่ง Form

menu

Menu Editor

ใช้เรียก Menu Editor ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ในการสร้าง Menu ให้กับ Form

open

Open

ใช้สำหรับเรียก Project งานที่ได้บันทึกมาก่อนหน้าแล้ว

save

Save

ใช้ในการบันทึก Project ที่ได้สร้างขึ้นมา

cut

Cut

ใช้สำหรับตัด Object ต่าง ๆ ที่อยู่บน Form เพื่อนำไปใช้งานตามที่ต้องการ

copy

Copy

ใช้สำหรับ Copy Object บน Form

past

Paste

ใช้สำหรับ Paste Object ที่ได้ทำการ Cut หรือ Copy ไว้

find

Find

ใช้สำหรับค้นหาคำใน Editor ซึ่งใช้ในกรณีที่มีการเขียนคำสั่งใน Form Editor

back

Undo Typing

ใช้สำหรับยกเลิกคำที่พิมพ์ใน Editor ใน Form Editor

forword

Redo Typing

ใช้สำหรับทำซ้ำคำที่พิมพ์ใน Editor

start

Start

ใช้สำหรับ Run Project ที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อดูผลลัพธ์ก่อนการนำไปใช้งานต่อไป

puse

Break

ใช้สำหรับหยุดการทำงาน Project ชั่วคราว

stop

End

ใช้สำหรับหยุดหรือยกเลิกการ Run Project

project_ep

Project Explorer

ใช้แสดงคุณสมบัติหรือว่ารายละเอียดของ Project ว่าประกอบไปด้วย Form หรือว่า Module ใดบ้าง

propertie_win

Project Window

ใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติของ Project และ Form

frm_layout

Form Layout window

ใช้สำหรับเรียกจอภาพ Form Layout ซึ่งใช้แสดงตำแหน่งของ Form บนหน้าจอ

objbrows

Object Browser

ใช้สำหรับเรียกจอภาพ Object Browser ซึ่งใช้แสดง Class และสมาชิกของแต่ละ Class

toolbox

Tool Box

ใช้สำหรับเรียก Tool Boxขึ้นมาบนจอภาพ

pix_frm2

ตำแหน่งของ Form

ใช้บอกตำแหน่งในแกน x และ y ของ Form

pix_frm

ขนาดของ Form

ใช้บอกถึงขนาดของ Form ตามแนวแกน x และ y

   Toolbox คือ แถบสัญลักษณ์ Controls ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ แบ่ง เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. คอนโทรลภายใน (Intrinsic controls) เป็นชุดคอนโทรลมาตรฐานของ Visual Basic ทุก ๆ ครั้งที่มีการเรียกใช้ Form เพื่อสร้างโปรแกรมประยุกต์ คอลโทรลชุดนี้จะถูกเรียกขึ้นมาอัตโนมัติ สามารถเลือกใช้งานคอลโทรลกลุ่มนี้ได้ทันที
vb_002.jpg

ไอคอน

ชื่อตัว Control

ชื่อ Class

คำอธิบาย

vb03ctrchk

Check box

CheckBox

ใช้กับการเลือกแบบ ถูก/ผิด ( True/False, Yes/No)

vb03ctrcbo

Combo box

ComboBox

เป็นตัว control เป็นการผสมระหว่าง Text box กับ List box ซึ่งจะปรากฏรายการ เมื่อมีการคลิกลูกศร และ Combo box ไม่สนับสนุนการเลือกแบบหลายค่า

vb03ctrcmd

Command button

CommandButton

ปุ่มคำสั่งเป็นตัว control ทีใช้ในทุกฟอร์ม ตามปกติจะเขียนคำสั่งใน Click event procedure ของตัว control นี้

vb03ctrdata

Data

Data

เป็นตัว control ที่สามารถรวมข้อมูลกับฐานข้อมูลได้ และเป็นส่วนที่ Visual Basic ให้ผู้ใช้สามารถติดต่อระหว่างตัว control บนฟอร์มกับฟิลด์ใน table ของฐานข้อมูล โดย Data จะทำงานกับ Database Jet ของฐานข้อมูล แต่ไม่สามารถทำงานกับ ActiveX Data Object (ADO) ได้

vb03ctrdir

Directory List box

DirListBox

เป็น List box แบบหนึ่ง ที่แสดงไดเรคทอรีและพาร์ทที่เลือก

vb03ctrdrv

Drive List box

DriveListBox

คล้ายกับ Combo box ที่ใช้เลือกชื่อของไดร์ฟในระบบ

vb03ctrfil

File list box

FileListBox

เป็น List box ชนิดพิเศษที่ใช้แสดงชื่อไฟล์ในไดเรคทอรี

vb03ctrfra

Frame

Frame

สามารถใช้เป็น container สำหรับตัว control อื่น

vb03ctrHsc

 vb03ctrVsc

Horizontal และ
Vertical Scroll Bar

HScrollBar และ VScrollBar

ใช้เป็นแถบเลื่อนแบบ stand-alone แต่มักจะไม่ค่อยมีการใช้ เพราะตัว control อื่น ๆ ส่วนใหญ่ จะมีแถบเลื่อนของตัวเอง

vb03ctrImg

Image

Image

เป็นตัว control ใช้เก็บภาพคล้ายกับ Picture box แต่ไม่สามารถทำงานแบบ container ได้ Image มีข้อดีที่ใช้ทรัพยากรของระบบน้อยกว่า Picture box

vb03ctrlbl

Label

Label

เป็นตัว control ที่ใช้แสดงข้อความ หรือป้ายชื่อ

vb03ctrline

Line

Line

เป็นตัว control ใช้สำหรับการตกแต่งด้านกราฟฟิก

vb03ctrlst

List box

ListBox

เป็นตัว control ที่เก็บรายการของค่า และให้ผู้ใช้เลือก ซึ่งสามารถเป็นการเลือกค่าเดียวหรือหลายค่า ขึ้นกับการกำหนดคุณสมบัติ MultiSelect

vb03ctrole

OLE container

OLE

เป็นตัว control ที่สามารถเป็น Host window ให้กับโปรแกรมภายนอก เช่น Microsoft Excel หรืออาจจะกล่าวว่าเป็นการสร้าง window ให้กับโปรแกรมอื่นบนโปรแกรมประยุกต์ Visual Basic

vb03ctropt

Option button

OptionButton

เป็นตัว control ใช้กับกลุ่มตัว control โดยให้เลือกได้เพียงตัว control เดียวต่อครั้งหนึ่ง เมื่อมีการเลือกตัว control ในกลุ่มแล้ว ตัว control อื่นในกลุ่มจะเปลี่ยนจากการเลือกโดยอัตโนมัติ

vb03ctrPic

Picture box

PictureBox

ใช้แสดงภาพในฟอร์แมต BMP, DIB (bitmap), ไอคอน (ico), WMF (metafile), GIF และ JPEG เป็นต้น

vb03ctrshp

Shape

Shape

เป็นตัว control ใช้สำหรับการตกแต่งด้านกราฟฟิก

vb03ctrtxt

Text box

TextBox

เป็นตัว control ที่เป็นฟิลด์ ใช้เก็บตัวอักษรที่สามารถแก้ไขโดยผู้ใช้ได้ และได้รับการใช้งานมาก

vb03ctrtimer

Timer

Timer

เป็นตัว control พิเศษที่ไม่เห็นเมื่อเวลาเรียกใช้ เป็นตัวจัดการและควบคุมที่เกี่ยวกับเวลา

2. คอนโทรล ActiveX (ActiveX controls) เป็นชุดคอนโทรลเพิ่มเติมที่ไมโครซอฟท์จัดเตรียมไว้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การเพิ่มคอนโทรลกลุ่มนี้เข้ามาในทูลบ๊อกซ์ทำโดยเลือกเมนู Project/Components  


  Form Designer
เป็นส่วนที่ใช้ออกแบบการแสดงผลส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ ฟอร์มเป็นออบเจ็กต์แรกที่ถูกเตรียมไว้ให้ใช้งาน คอลโทรลทุกตัวที่ต้องการใช้งานจะต้องนำไปบรรจุไว้ในฟอร์ม นำคอลโทรลมาประกอบกันขึ้นเป็นโปรแกรมประยุกต์ ทุกครั้งที่เปิด Visual Basic ขึ้นมา หรือ สร้าง Project ใหม่จะมีฟอร์มว่าง 1 ฟอร์มถูกสร้างเตรียมไว้เสมอ


 

Project Explorer
Project Explorer ใช้สำหรับบริหารและจัดการโปรเจ็กซ์ โดยจะแสดงองค์ประกอบของแต่ละโปรเจ็กต์แบบโครงร่างต้นไม้ (tree-view)ตัวโปรเจ็กตจะหมายถึงโปรแกรมประยุกต์ซึ่งจะอยู่ส่วนบนสุด ถัดมา จะแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรเจ็กต์นั้น ๆ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ฟอร์มโมดูล รายงาน เป็นต้น ถ้ามี 2 โปรเจ็กต์ขึ้นไป ก็จะแสดงแยกออกเป็นส่วนต่างหากอีกโปรเจ็กต์ ถ้าต้องการใช้งานส่วนใด ของโปรเจ็กต์ไหนก็สามารถคลิ๊กเลือกได้ทันที


  
Project Explorer แบบโปรเจ็กต์เดียว และ แบบหลายโปรเจ็กต์

ส่วนประกอบของโปรเจ็กต์


Project (n)

คือโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาอยู่ มีนามสกุล .vbp

Form (n) .frm

เป็นฟอร์มที่มีอยู่ในโปรเจ็กต์นั้น ๆ ใน 1 โปรเจ็กต์อาจมีมากกว่า 1 ฟอร์มก็ได้ มีนามสกุล

Modules

เป็นที่เก็บชุดคำสั่งที่คุณเขียนขึ้นมา โดยจะเก็บชุดคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆมีนามสกุล .bas

Class Modules

เป็นโมดูลชนิดพิเศษที่มีลักษณะเป็นอ๊อบเจ็กต์ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จะมีนามสกุล .cls

User controls

เป็นส่วนที่เก็บคอนโทรล ActiveX ที่คุณสร้างขึ้นมา มีนามสกุล .ctl

Designers

เป็นส่วนของรายงานที่ถูกสร้างขึ้นมีนามสกุลเป็น .dsr

Properties Window
หน้าต่างคุณสมบัติเป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของออบเจ็กต์ที่ถูกเลือก (adtive) หรือได้รับความสนใจ (focus) อยู่ขณะนั้น ซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ของคอลโทรลเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและตรงกับความต้องการใช้งานได้ทันที

http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb109.gif

ในหน้าต่างคุณสมบัติ จะประกอบไปด้วยแท็ป 2 แท็ป คือ
1. แท็ป Alphabetic เป็นแท็ปที่แสดงรายการคุณสมบัติ เรียงตามตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
2. แท็ป Categorized เป็นแท็ปที่แสดงรายการคุณสมบัติ โดยการจัดกลุ่มของคุณสมบัติที่มีหน้าที่คล้ายกัน
หน้าต่าง Form Layout
เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นตำแหน่งของฟอร์ม และสามารถกำหนดตำแหน่งของฟอร์ม ที่ปรากฎบนจอภาพในขณะประมวลผลได้ โดยการเคลื่อนย้ายฟอร์มจำลอง ที่อยู่ในจอภาพจำลองด้วยการ drag เมาส์ ไปยังตำแหน่งทีคุณต้องการ โดยจะมีผลในขณะประมวลผลเท่านั้น
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb110.gif
Immediate Window
เป็นหน้าต่างที่ให้ประโยชน์ ในกรณีทีคุณต้องการทราบผล การประมวลผลโดยทันที เช่น การทดสอบโปรแกรมย่อยต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อคุณสั่งประมวลผลโปรเจ็กต์ หน้าต่างนี้จะปรากฎขึ้นโดยอัตโนมัติ
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb112.gif
หน้าต่าง New Project
หน้าต่าง New Project จะปรากฎขึ้นมาเมื่อเลือกเมนู File/New Project กรอบโต้ตอบนี้ จะแสดงชนิดของโปรแกรมประยุกต์ ที่คุณต้องการพัฒนา ซึ่งจะคล้ายกับตอนที่เปิดโปรแกรม Visual Basic ขึ้นมาครั้งแรก
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb113.gif
หน้าต่าง Code Editor
เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียนชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผล และควบคุมการทำงานของคอลโทรล  ต่าง ๆ
http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb114.gif


 ย้อนกลับ           กลับหน้าหลัก           หน้าถัดไป

 
 
Update :: 6/04/12 8:50 AM
Design By Mr.Withoon  Ngamkham     E-Mail :: Krutoon2010(at)hotmail.com